Thursday, September 19, 2013

ความเชื่อเรื่องเทพเจ้ากรีก


    • สันนิษฐานของที่มาของการเกิดเทวตำนานเทพเจ้ากรีก
      อาจเป็นเพราะชาวกรีกโบราณพยายามหาคำตอบให้กับตัวเองว่าทำไมฟ้าร้องฟ้า ผ่า หรือเหตุใดจึงมีเสียงสะท้อนจากถ้ำเมื่อเราส่งเสียง หรือ ฯลฯ นั่นเพราะความกลัวปรากฏการณ์ธรรมชาติจึงพยายามหาเหตุผลและชาวกรีกชอบฟัง นิทานเรื่องเล่า ชาวกรีกโบราณนับถือธรรมชาติ เชื่อว่าพลังลึกลับที่สามารถให้คุณให้โทษได้เกิดขึ้นเพราะมีเทพเจ้าต่างๆ บันดาลให้เป็นไป ชาวกรีกนับถือเทพเจ้าหลายองค์ เทพเจ้าตามความเชื่อของชาวกรีกมีหน้าตาและมีอารมณ์ความรู้สึกเช่นเดียวกับ มนุษย์ แต่มีพลังอำนาจเหนือกว่า
    • อารยธรรมโรมัน สืบเนื่องมาจากอารยธรรมกรีก โดยชาวอิทรัสกันซึ่งอยู่ในเอเชียไมเนอร์อพยพเข้าสู่แหลมอิตาลี นำเอาความเชื่อและศิลปวัฒนธรรมของกรีกเข้าไปด้วย ต่อมาบรรพบุรุษของชาวโรมันคือ ละติน จากตอนใต้ของแม่น้ำไทเบอร์ ขับไล่กษัตริย์อิทรัสกันแล้วรวมตัวเป็นชุมนุมในบริเวณที่เรียกว่า ฟอรัม เป็นศูนย์กลางเมือง และจุดเริ่มต้นของกรุงโรมในเวลาต่อมา โดยรับเอาอารยธรรมกรีกจากชาวอิทรัสกันมาเป็นต้นแบบอารยธรรมตนด้วย
      จักรวรรดิโรมันปกครองคาบสมุทรอิตาลีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 เป็นยุคแห่งความรุ่งเรืองยิ่งใหญ่ ก่อกำเนิดอารยธรรมด้านต่างๆ มากมาย ด้านการปกครอง จักรพรรดิมีอำนาจสูงสุด ด้านการคมนาคม มีการสร้างถนนเชื่อมต่อเมืองต่างๆ ด้านกฎหมาย เกิดหลักกฎหมาย “All free men are equal before the law” ด้านเศรษฐกิจ แปรผันตามการเกษตรกรรม ด้านสังคม แบ่งชนชั้นผู้ถูกปกครองและผู้ปกครอง ด้านปรัชญา ประกาศปรัชญาของสโตอิกส์และเอปิคิวเรียน ด้านสถาปัตยกรรม รับอิทธิพลจากกรีกเฮเลนิก เน้นความแข็งแรงใหญ่โต

      การบูชาเทพเจ้ากรีกแต่อดีต-ปัจจุบัน

      ชาวกรีกจะสร้างวิหารไว้ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อเป็นที่สถิตของเทพเจ้า มีพิธีกรรมการเซ่นสรวงบูชา และสลักรูปจำลองของเทพเจ้าไว้สำหรับเคารพบูชาด้วย ส่วนทางด้านปรัชญานั้น ชาวกรีกเป็นผู้ให้กำเนิดวิชาปรัชญาแก่ชาวตะวันตก ซึ่งมีพื้นฐานสืบเนื่องมาจากเสรีภาพในความคิดและความอยากรู้อยากเห็นอันไม่ มีที่สิ้นสุดของชาวกรีกที่มีต่อธรรมชาติ ซึ่งวิชาการต่างๆ

      ศิลปวัฒนธรรมกรีกโบราณ

      ศิลปะกรีก (500 ปีก่อน พ.ศ. – พ.ศ. 440) ชาวกรีกมีความเชื่อว่า “มนุษย์เป็นมาตรวัดสรรพสิ่ง” ซึ่งความเชื่อนี้เป็นรากฐาน ทางวัฒนธรรมของชาวกรีก เทพเจ้าของชาวกรีกจะมีรูปร่างอย่างมนุษย์ และไม่มี ความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายเหมือนชาวอียิปต์ ดังนั้น จึงไม่มีสุสานหรือพิธี ฝังศพที่ซับซ้อนวิจิตรเหมือนกับชาวอียิปต์
      จิตรกรรม รู้จักกันดีก็มีแต่ภาพวาดระบายสีตกแต่งผิวแจกัน เท่านั้น ที่ ชาวกรีกนิยมทำมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 1 เป็นภาพที่มีรูปร่างที่ถูกตัดทอนรูปจน ใกล้เคียงกับรูปเรขาคณิต มีความเรียบง่ายและคมชัด
      ประติมากรรม ส่วนมากเป็นเรื่องศาสนา ซึ่งสร้างถวายเทพเจ้าต่าง ๆ วัสดุที่นิยใช้สร้างงานได้แก่ ทองแดง และดินเผา ในสมัยต่อมานิยมสร้างจาก สำริด และหินอ่อนเพิ่มขึ้น ในสมัยแรก ๆ รูปทรงยังมีลักษณะคล้ายรูปเรขาคณิต อยู่ต่อมาในสมัยอาร์คาอิก (200 ปีก่อน พ.ศ.)

สภาเทพแห่งโอลิมปัส

สภาเทพแห่งโอลิมปัส : เป็นเหล่าทวยเทพสูงสุดตามความเชื่อของชาวกรีกโบราณ มีทั้งหมด 12 องค์ สถิตย์อยู่ ณ เขาโอลิมปัส ซึ่งเป็นเขาที่มีอยู่จริงในประเทศกรีซ โดยเป็นเขาที่สูงสุดในกรีซ


เทพทั้ง 12 ประกอบด้วย
ซูส (Zeus) เป็นเทพที่ใหญ่ที่สุด ปกครองสวรรค์และทวยเทพทั้งมวล เทพแห่งท้องนภา
  • โพไซดอน (Poseidon) เทพแห่งท้องทะเลและแม่น้ำ น้ำท่วมและแผ่นดินไหว เป็นพี่ชายของเทพซุส
  • เฮรา (Hera) ชายาของซูส องค์ราชินีแห่งสรวงสรรค์และดวงดาว เทพีแห่งการสมรสและความจงรักภักดี
  • อพอลโล (Apollo) โอรสของซูส เทพแห่งดวงอาทิตย์(แสง) เทพแห่งศิลปวิทยาการ การรักษา การพยากรณ์ทำนาย การแพทย์ และการธนู
  • อาร์เทมีส (Artemis) ฝาแฝดหญิงกับอพอลโล่ เทพีแห่งดวงจันทร์ เทพีแห่งการล่าสัตว์ เหล่าสัตว์ป่า และเทพีผู้ดูแลปกป้องหญิงสาว
  • อะธีนา (Athena) ธิดาอีกองค์หนึ่งของซูส เทพีแห่งสงคราม เทพีแห่งปัญญา งานหัตถกรรม (โดยเฉพาะงานทอผ้า ปั้นหม้อ และงานไม้)
  • เฮฟเฟสตุส (Hephaestus) เทพแห่งการตีเหล็ก เทพแห่งไฟ
  • อาเรส (Ares) เทพแห่งสงคราม
  • อโฟรไดท์ (Aphordite) เทพีแห่งความรัก เทพีแห่งความงาม
  • เฮอร์มีส (Hermes) เทพแห่งการค้า เทพแห่งการโจรกรรม และผู้ส่งสารของเหล่าทวยเทพ
  • เฮสเทีย (Hestia) เทพแห่งการครองเรือน เทพแห่งครอบครัว
  • ดีมิเตอร์ (Demeter) เทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์และการเก็บเกี่ยว
  • สำหรับ ฮาเดส (Hades) เทพปกครองโลกที่อยู่เบื้องล่าง และเป็นพี่ชายของจอมเทพซุส แต่เดิมเคยถูกจัดอยู่ใน 12 เทพโอลิมปัสด้วย แต่ตัดออกจากกลุ่มในภายหลัง[1]




โพไซดอน Poseidon

     โพไซดอน หรือ โพเซดอน (Poseidon) หรือ โปเซดอน เป็นชื่อเรียกเทพเจ้าตามชาวกรีก แต่สำหรับชาวโรมัน ซึ่งรับเอาวัฒนธรรมของกรีกมาอีกทอดหนึ่งจะเรียกว่า เนปจูน ตามภาษาละติน
โพไซดอน เป็นผู้คุ้มครอง ท้องทะเลและห้วงน้ำ (The ruler of the sea) เป็นพระอนุชาของเทพซุส หรือ จูปิเตอร์ตามภาษาละติน เทพที่มีอำนาจสูงสุดในบรรดาเทพเจ้ากรีก-โรมันทั้งหมด ส่วนพระชายาของพระองค์ คือ เทพีอัมฟิไทรต์ ซึ่งก็เป็นเทพี แห่งท้องทะเล เช่นกัน

โพไซดอน เป็น เทพเจ้าแห่งท้องทะเล และมหาสมุทร เป็น ผู้ปกครองดินแดน แห่งท้องน้ำ ตั้งแต่แหล่งน้ำจืด เช่น แม่น้ำ ลำคลอง จนถึงใต้บาดาล มีอาวุธคือสามง่าม บางตำนานกล่าวว่า มีท่อนล่างเป็นปลา นอกจากนี้แล้วยังถือว่าเป็นเทพแห่งแผ่นดินไหว และเป็นเทพแห่งม้าอีกด้วย

โพเซดอนเป็นบุตรของโครโนสกับเร มีพี่น้องอีก 4 องค์ ซึ่งล้วนแต่เป็นเทพ แห่งโอลิมปัสทั้งสิ้น ได้แก่ 
  1. ซุส ผู้เป็นใหญ่ในสภาเทพแห่งโอลิมปัส
  2.    
  3. ฮาเดส ผู้ครอบครองยมโลก
  4.    
  5. เฮรา ชายาแห่งเทพซุส
  6.    
  7. เฮสเตีย เทพีแห่งเตาผิง
    โพเซดอน มีพาหนะเป็นม้าน้ำเทียมรถ ที่มีส่วนบนเป็นม้า และท่อนล่างเป็นปลา ซึ่งบางครั้ง จะพบรูปโพเซดอน อยู่บนรถเทียมม้าน้ำนี้ขึ้นมาจากทะเล

      โพไซดอน เป็นเทพเจ้าที่หงุดหงิด และโมโหง่าย ดวงตาสีฟ้าดุดัน มองผ่านทะลุ ม่านหมอกได้ และผมสีน้ำทะเลสยายลงมาเบื้องหลัง โดยได้รับสมญาว่า “ผู้เขย่าโลก” เนื่องจากเมื่อปักตรีศูลหรือสามง่ามลงบนพื้นดิน โลกก็จะเกิดการสั่นสะเทือน และแผ่นดินแยกออกจากกัน เมื่อฟาดสามง่ามลงบนทะเล ก็จะบังเกิดคลื่นลูกใหญ่เท่าภูเขา และ เกิดพายุ มีเสียง ครึกโครมน่ากลัว ทำให้เรืออับปางลง และผู้คนที่อาศัยอยู่ชายทะเลจมน้ำ แต่เมื่อยามโพไซดอน อารมณ์ดี ทรงยื่นพระหัตถ์ออกไป ทำให้ทะเลสงบและทรงยกแผ่นดินใหม่ขึ้นมาจากน้ำ


เทพซีอุส (Zeus) เทพแห่งเทพผู้ปกครองเทพทั้งหมด

   


Zeus เป็นเจ้าแห่งเทพเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้รอบรู้ทางด้านพยากรณ์อากาศ และเป็นผู้คุมกฎแห่งสวรรค์ สัญลักษณ์แห่งพลังอำนาจของเขาคือ สายฟ้า (Thunderbolt) นอกจากนั้นเขายังทำหน้าที่ผดุงกฎหมาย และความยุติธรรม พลังอำนาจในการต่อสู้ของเขาน่าเกรงขามยิ่งนัก

            Zeus เป็นบุตรคนสุดท้ายของเทพ Cronos ผู้แข็งแกร่ง ตอนที่เทพ Cronos ต่อสู้จนเอาชนะเทพ Uranus ได้ ทำให้ Zeus ต้องสังหารเทพ Cronos ส่วน Rhea ซึ่งเป็นภรรยาของเทพ Cronos ไว้ใจ Gaia ให้คอยดูแลเขา ตอนที่เทพ Cronos พยายามที่จะกลืนกินลูกของเธอทีละคน ซึ่ง Zeus เป็นลูกคนสุดท้อง และเธอก็ปกป้องเขา โดยส่งเขาไปอยู่กับนางไม้ Adrasteia และ Ida เลี้ยงดูโดยใช้นมแพะ Amaltheia เมื่อเขาเติบโตขึ้นก็ได้ต่อสู้กับพ่อตัวเอง โดยได้รับการช่วยเหลือจาก Gaia ที่เข้าไปต่อสู้ เพื่อให้เขาสำรอกลูกๆ ที่เขากลืนกินออกมา ตอนนั้นพวกเขาเติบโตขึ้นเป็นเทพ และเทพีแห่ง Olympus
          ในการต่อสูระหว่าง Zeus กับเทพ Cronos และ Titans ฝ่าย Zeus ชนะและกลายเป็นเจ้าแห่งเทพเจ้า และเทพ Cronos กับบรรดา Titan ของเขาต่างก็ถูกกักขังไว้ใน Tarturos แต่ Gaia ไม่พอใจที่ Zeus ทำร้ายบรรดา Titan ที่เป็นลูกของเธอ เธอจึงสั่ง Giants และ Typhon ไปต่อสู้กับ Zeus แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะเขาได้ นับจากนั้นมา Gaia จึงยอมรับว่า Zeus เป็นเจ้าแห่งเทพเจ้าและมนุษย์อย่างแท้จริง
           Hera เป็นภรรยาของ Zeus และมีลูกๆ ทั้งหมด 4 คน คือ Ares (เทพเจ้าแห่งสงคราม) Eilethyia (เทพีแห่งการเกิด) Hebe (เทพีแห่งความเยาว์วัย) Hephaestus (เทพเจ้าแห่งงานช่าง) นอกจากนั้น Zeus ยังมีความสัมพันธ์กับเทพีองค์อื่นๆ อีกมากมาย
            นับตั้งแต่อดีตกาล ชาว Greek ต่างให้การยอมรับนับถือ Zeus เป็นอย่างมากถึงความสามารถ และความลึกลับตามตำนานที่เกี่ยวข้องกับตัวเขา ส่วนชาว Romans ก็ได้สร้างอนุสรณ์สถาน โดยใช้ชื่อว่า  Jupiter หรือ Jore นอกจากนั้นทางด้านศิลปะสมัยโบราณก็มักจารึกภาพวาดของเขาเป็นชายหนุ่มร่างกายบึกบึนมีหนวดเครายาวรุงรัง ที่ถือดาบสายฟ้า บางครั้งก็มีสัตว์คอยตามอารักขา เช่น นกอินทรีย์, วัว และหงส์ และยังมีรูปปั้นทองคำของ Zeus ที่ประดับด้วยงาช้างสวยงาม ซึ่งเป็นงานแกะสลักของ Pheidias ที่เป็นปฏิมากรชื่อดัง ที่ตั้งอยู่ในวัดที่ Olympia ถึงแม้ว่ารูปปั้นนี้จะไม่ถูกจารึกในประวัติศาสตร์ แต่ครั้งหนึ่งก็เคยเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก

ประติมากรรมเพอร์ซิอุสกับเมดูซ่า

เพอร์ซิอุสกับศีรษะเมดูซา งานปั้นของอันโตนิโอ คาโนวา ในปี ค.ศ. 1801 ปัจจุบันตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วาติกัน

 พิพิธภัณฑ์วาติกัน เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ภายในนครรัฐวาติกันในกรุงโรมในประเทศอิตาลี “พิพิธภัณฑ์วาติกัน” เป็นพิพิธภัณฑ์ที่แสดงศิลปะที่สะสมโดยวัดโรมันคาทอริกมาเป็นเวลาหลายร้อยๆ ปี เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1929 นครรัฐวาติกันและอิตาลีได้ลงนามสนธิสัญญายอมรับสถานะของนครรัฐวาติกันเป็น รัฐเอกราชมีอำนาจอธิปไตยของตนเองสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ทรงก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชาเปลซิสตินและห้องราฟาเอล (Stanze della Segnatura) เป็นส่วนหนึ่งที่ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์จะได้เห็น


นรูปปั้นของเพอร์ซีอุส (Perseus) ตัดหัวนางเมดูซา (Medusa) ผู้มีงูบนศีรษะ

ปาลัซโซเวคคิโอ แปลเป็นไทยว่าปราสาทเก่า เป็นศูนย์กลางในการบริหารแผ่นดิน ปัจจุบันด้านหน้าอาคารนี้จะประดับประดาไปด้วยรูปประติมากรรมทั้งของจริงของจำลอง ไว้ให้ประชาชนหรือนักท่องเที่ยวได้ชื่นชมฟรี


Sculpture by Salvador Dalí

 Marble sculpture by Antonio Canova(New York)




เพอร์ซีอุส กับ เจ้าหญิงอันดรอเมด้า

    พอตัดเสร็จเพอร์ซีอุส ก็เดินทางกลับเพื่อเอาหัว เมดูซ่า ไปมอบให้ โพลีเดคเทส ตามสัญญา..

ขณะที่บินไปด้วยรองเท้าวิเศษ เหนือประเทศ เอธิโอเปีย เพอร์ซีอุส ก็สังเกตเห็นสาวงามนางหนึ่ง เปลือยร่างถูกตรึงด้วยโซ่อยู่กับก้อนหินริมทะเล จึงแวะลงมาถามไถ่ ความงามของสาวน้อยทำให้
เพอร์ซีอุส ตกหลุมรักทันที นางบอกว่า
ชื่อเจ้าหญิงอันดรอเมด้า เป็นราชธิดาของกษัตริย์ เซฟเฟียส และราชินี แคสซีโอพายย่า พระมารดาของนางทรงเลอโฉมสุดจะหาผู้ใดปานได้ แต่พระนางผู้เป็นมารดา พร่ำเพ้อเห่อเหิมในความทรงโฉมของพระองค์เองเป็นยิ่งนัก ครั้งหนึ่ง ได้ไปคุยทับถมว่า ความงามของพระนางนั้น เลิศเลอยิ่งกว่าความงามของ นางนิ้มฟ์ทั้งห้าสิบพี่น้องตระกูลเนเรียดส์แห่งห้วงสมุทรเสียอีก เหล่านางนิ้มฟ์เนเรียดส์ จึงคั่งแค้นยิ่งนัก ที่นางมนุษย์บังอาจมาลบหลู่ความงามของเทพ จึงพากันไปร้องเรียน เทพโพไซดอน ผู้เป็นเจ้าสมุทร ทำให้ทรงพิโรธโกรธขึ้ง สั่งให้อสูรทะเล เซตัส มาเรียกร้องให้เอาเจ้าหญิงมาพลีชีพ สังเวยกรรมพระมารดาเสีย หาไม่แล้ว อสูรเซตัส จะทำลายเมืองเอธิโอเปียให้ราพนาสูรสิ้นไป
เสร็จศึกแล้ว เพอร์ซีอุสก็มอบหัว เมดูซ่า ให้เทพอะธีน่า ซึ่งเอาไปตรึงบนเกราะอกของเธอ เป็นเกราะศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่า AEgis (ที่กองทัพเรือสหรัฐเอาไปใช้เป็นชื่อเรือรบชนิดหนึ่ง) อันน่าเกรงขามที่ใครมองเข้า ก็จะกลายเป็นหินไปทันที

       ต่อมา ในเกมส์ละเล่นเหวี่ยงแผ่นหิน เพอร์ซีอุส กำลังเล่นอยู่และโยนแผ่นหินหลุดมือไปโดน อคริเสียส ในหมู่ผู้ชม ถึงแก่สิ้นพระชนม์ลง เป็นอันเป็นไปตามคำทำนายดวงชะตามาแต่ก่อนเก่า

หลังจากนั้น เพอร์ซีอุส และ อันดรอเมด้า ก็ครองรักกันมาอย่างมีความสุข บุตรชายคนแรกของทั้งสอง มีชื่อว่า Peres ตามตำนานกล่าวว่า เป็นกษัตริย์องค์แรกของชาวเปอร์เซีย อันเป็นอาณาจักรโบราณ ที่ได้แผ่อำนาจขยายอาณาเขตอิทธิพลครอบคลุมไปทั่วทั้งตะวันออกกลาง ไปจนถึงภาคตะวันตกของจีนและอินเดีย
http://www.learners.in.th/blogs/posts/50435

จุดจบของ เมดูซ่า

เมื่อ..เพอร์ซีอุส ตกหลุม โพลีเดคเทส ก็ต้องออกล่าหา เมดูซ่า เพื่อตัดหัวมาตามสัญญา เทพอะธีน่า ซึ่งรอคอยหาคนมากำจัด เมดูซ่า ให้อยู่นานแล้ว เพราะความเป็นเทพของนาง ทำให้ไม่สามารถไปแสดงอำนาจพาลได้ถนัด ยังต้องอาศัยเหตุผลข้ออ้าง และน้ำมือคนอื่นไปกำจัดศัตรูให้ กี่คนๆมาแล้วที่ต้องการไต่เต้าสร้างวีรกรรม ที่ได้กลายเป็นหินไปหมด ทันทีที่ เพอร์ซีอุส มาเข้าทางตน อะธีน่า ก็กุลีกุจอปรากฏตัวขึ้นทันที เพื่อช่วยให้ทุกอย่างดำเนินไปตามแผนกำจัด เมดูซ่า ของนางโดยราบรื่น อะธีน่า จึงช่วยบอกทางให้ เพอร์ซีอุส ไปยัง ซามอส อันเป็นที่พำนักของ นางกอร์กอนสามพี่น้อง เทพอะธีน่า ก็ได้ประทานโล่ห์ที่เป็นเงามันวับเหมือนกระจก แล้วช่วยให้ภาพปรากฏของนางมารทั้งสาม เพื่อ เพอร์ซีอุส จะได้เห็นว่าหน้าตาเป็นอย่างไร และเตือน ไม่ให้มองหน้าเมดูซ่าตรงๆ เพราะจะทำให้กลายเป็นหินไปเสียก่อน 
จากนั้น อะธีน่า ก็ให้อนุชา คือ เทพเฮอร์มีส (ที่ชาวโรมันเรียกว่า เมอร์คิวรี่ นั่นเอง) ซึ่งก็เป็นเทพบุตรของ เซอุส อีกผู้หนึ่ง ไปนำ ดาบโค้ง ของโครนัสมาให้ เพอร์ซีอุส เพื่อใช้ฆ่า เมดูซ่า
เพื่อให้เป็นหลักประกันว่า เพอร์ซีอุส จะปฏิบัติการได้สำเร็จ ก็ต้องอาศัยของวิเศษอื่นๆอีก อะธีน่า จึงช่วยบอกอุบายรายละเอียด และชี้ทางให้ เพอร์เสียส ไปหานางแม่มดสามพี่น้องแห่ง เกรยี ผู้เป็นแม่เฒ่ามาตั้งแต่เกิด นางทั้งสามมีตาเพียงดวงเดียว และมีฟันเพียงซี่เดียว ต้องแบ่งกันใช้ แต่ก็ทะเลาะเบาะแว้งแย่งตาแย่งฟันกันมาชั่วชีวิต เพอร์ซีอุส จึงอาศัยความชุลมุนจากการแก่งแย่งนั้น เข้าไปขโมยดวงตาและฟันพวกแม่มดเกรยีมา เพื่อบังคับให้นางทั้งสามบอกทางไปหานางนิ้มฟ์ผู้ใจดีแห่งอุตรทิศ แล้วจึงจะคืนตาและฟันให้ เมื่อ เพอร์ซีอุส รู้ทางแล้ว ก็ไปหา นางนิมฟ์ผู้ใจดี ผู้ให้ยืมรองเท้ามีปีกที่ทำให้เหาะได้ หมวกวิเศษที่ทำให้ล่องหนได้ และกระเป๋าวิเศษเพื่อไว้ใส่หัวเมดูซ่า 
เมื่อได้ของวิเศษต่างๆแล้ว เพอร์ซีอุส ก็เข้าไปยังถ้ำของนางมารกอร์กอนสามพี่น้อง เมื่อไปถึงก็พบว่า เมดูซ่า กำลังนอนหลับกับพี่สาวทั้งสอง เพอร์ซีอุส ก็ได้ อะธีน่า ที่ตามมาช่วยอยู่ตลอดเวลา ช่วยถือโล่ห์ให้ จากภาพเงาของเมดูซ่าในโล่ห์มันวับ เพอร์ซีอุส ก็ตัดหัว เมดูซ่า ขาดแล้วเก็บใส่ถุงวิเศษทันที เลือดไหลนองออกจากคอของ เมดูซ่า ก่อกำเนิดเกิดออกมาเป็น ม้ามีปีก เพกาซัส แล้ว เมดูซ่า ก็จบสิ้นความระทมทุกข์ทรมาน จากชีวิตอันโหดร้ายของเธอ ส่งผลให้ เพอร์ซีอุส กลายเป็นวีรบุรุษอมตะผู้ปราบมารของชาวกรีกไป